top of page
บทที่ 5
การใส่รูปภาพลงในเว็บ
5.1 ชนิดของไฟล์รูปภาพ
การเลือกรูปภาพมาใส่ลงในหน้าเว็บของเราควรที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆก่อนดังนี้
5.1.1 คุณสมบัติของไฟล์รูปภาพ
-ความลึกของสี(Color depth)
สีที่มีความลึกมากจะทำให้รุปภาพนั้นดุสมจริงมากขึ้น ความลึกของสีจะเป็นตัวบอกถึงจำนวนบิตที่ใช่ในการกำหนดสีในเเต่ละจุดสี(pixel)cยิ่งจำนวนบิตมากก็ยิ่งทำให้เเสดงจำนวนสีได้มาก ดดยรุภาพที่เป็น Full color จะใช้ความลึกของสี 24 บิต
-การบีบขนาดไฟล์(compression/file size)
ไฟล์รูปภาพมักมีขนาดใหญ่ จึงมักจะต้องมีการบีบขนาดเพื่อให้ช่วยลดขนาดของไฟล์ให้เล็กลง ซึ่งเทคนิคการบีบขนาดไฟล์จะมีอยู่ 2 เเบบคือ
-การบีบขนาดเเบบ Lossless จะช่วยให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงโดยไม่ลดคุณภาพของภาพนั้นลงตาม
-การบีบขนาดเเบบ Lossy จะช่วยให้ขนาดไฟล์มีขนาดเล็กลงเเต่คุณภาพของรูปภาพนั้นจะด้อยลงตามไป
-การเเสดงภาพเคลื่อนไหว(Animation)
รูปภาพบางชนิดจะรับรองการเเสดงภาพเคลื่อยนไหวเเบบง่ายๆได้โดยการเก็บภาพหลายๆภาพที่เกี่ยวเนื่องกันไว้ในไฟล์เดียวกัน เเละหน้าเว็บเพจก็จะเเสดงภาพนั้นต่อเนื่องเเละวนรอบไปเรื่อยๆ ซึ่งมักนิยมใช่ในหน้าเว็บมากกว่าคริปวิดิโอ
-ลักษณะโปร่งเเสง (Transparency)
รูปภาพบางชนิดสามารถทำให้พื้นหลังของรูปภาพโปร่งเเสงได้ ทำให้เทื่อเราวางรูปภาพนั้นลงในเอกสารจะมองส่วนของเอกสารที่ถูกทับอยู่
5.1.2 ชนิดของไฟล์รูปภาพ
ไฟล์รูปภาพมีอยู่มากมายหลายชนิดเเต่ที่เรานิยมเเละสามารถนำมาใส่ลงในเอกสาร HTML ได้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ
1.รูปภาพชนิด GIF (Graphics lnterchge Format)
เป็นไฟล์รูปที่มีการบีบขนาดข้อมูล สามารถบีบให้มีขนาดเล็กลงโดยคุณภาพของภาพไม่ลดลง ทำพื้นหลังเเบบโปร่งเเสงได้ เเต่สามารถกำหนดสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น
2.รูปภาพชนิด JPEG หรือ JPG (joint Photographic Experts Group)
เป็นไฟล์รูปภาพที่ถูกบ่ีบขนาดไว้เช่นกันโดยใช่เทคนิค lossy ซึ่งคุณภาพของภาพจะด้อยลงไผตามขนาดที่บีบ เเต่ไม่จำกัดจำนวนสี มักใช่ในภาพในลักษณะของภาพถ่าย
3.รูปภาพชนิด PNG (Portable Network Grphics)
เป็นไฟล์รูปภาพที่นำคุณสมบัติเด่นของ JPG เเละ GIFมารวมเข้าไว้ด้วยกัน โดยรองรับสีที่มีจำนวนมากถึง 24 บิตเหมือนกันกับ JPG อีกทั้งยังสารมารถกำหนดพื้นหลังให้เ็นเเบบดปร่งเเสงเช่นเดียวกับ GIF ได้ในขณะเดียวกัน
ในเว็บเพจส่วนใหญ่ เรามักพบไฟล์ 3 ชนิดนี้ เนื่องจากเป็นไฟล์ที่มีการบีบอัดข้อมูลอัดข้อมูล ทำให้ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็กซึ่งช่วยใก้เเสดงผลได้อย่างรวดเร็ว เหมากับการนำมาใส่ไว้ในเว็บเพจนั่นเอง
5.1.3 ข้อควรพิจารณาในการใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ
1. ไม่ควรใช้ภาพที่มีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้เเสดงผลได้ช้า
2. ถ้าเป็นภาพขนาดใหญ่ ควรใช้เป็นเเบบ lnterlaced GIF
3. ภาพขนาดใหญ่ ไม่ควรเกิน 600*400 จุด เพราะยังคงมีผู้ใช้จอภาพที่มีความละเอียด 640*480 อยู่
4. ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเป็นจุดเชื่อมโยงไปยังรูปภาพใหญ่ เเทนที่จะเเสดงภาพใหญ่โดยตรง
bottom of page